ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่าฟิล์มกันรอยคืออะไร และ เราจำเป็นต้องใช้ฟิล์มกันรอยหรือไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้งานของตนเอง 

เพราะการใช้ฟิล์มกันรอยเป็นแค่ ตัวเสริม (accessories) เท่านั้น แต่แน่นอนว่าสำหรับ GORILLA มองว่า ฟิล์มกันรอย คือ ความจำเป็น

บทความวันนี้ จะมาตอบว่า "จำเป็นต้องใช้ฟิล์มกันรอยมั้ย ?" และ "ทำไมต้องฟิล์มกอริลล่า ?"

ฟิล์มกันรอยสำคัญไฉน?

สมาร์ทโฟน ที่เราใช้อยู่ประจำทุกวัน ปฏิเสธได้หรือไม่ว่ารูปร่างของมัน มีส่วนดึงดูดแรงโน้มถ่วงอยู่ไม่น้อย!

หลายเครื่องต้องพ่ายแพ้แก่ ฟุตบาธ หรือ มุมต่างๆ เป็นปกติวิสัย หากเสียหายเล็กน้อย ราคาก็จะลดลงอย่างน่าใจหาย เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ด้วยจอมือถือที่มีหลายชั้น ทำให้บางเครื่องเสียหาย ใช้การไม่ได้ไปเลย

ฟิล์มกันรอย ราคาหลักร้อยถึงพันต้นๆ จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับ "ป้องกันความไม่แน่นอนของจักรวาล"

คำถาม คือ ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้เรื่องฟิล์มเลย ควรเลือกซื้อฟิล์มอย่างไร? ท่ามกลางฟิล์มกันรอยที่วางขายอยู่เกลื่อนในท้องตลาด

หัวใจการเลือกซื้อฟิล์ม

ทิปส์การเลือกซื้อฟิล์มสำหรับ Gorilla ง่ายๆ คือ "ประโยชน์ใช้สอย ที่สัมพันธ์กับ วิธีการใช้สมาร์ทโฟนของคุณเอง" (utility)  ของลูกค้าเอง 

นี่คือเหตุผลที่คุณต้องพิจารณาเองว่า ฟิล์มกันรอยแต่ละแบบเหมาะสมกับเงื่อนไขการใช้งานของลูกค้าหรือไม่

4 ข้อเสนอ ทำไมเลือกฟิล์ม GORILLA

ข้อเสนอ 1 : เราเน้นความแข็งแกร่ง (Toughness)

Gorilla ได้ศึกษาค้นคว้า นิยามของความแข็งแกร่ง และ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ฟิล์มแผ่นบาง ๆ แผ่นนึง กลายเป็น โล่ที่สมบูรณ์แบบ ที่สุด

โดยความแข็งแกร่ง เนื้อแท้หมายถึง "ความสามารถในการป้องกันการเข้ามากระทบ จากวัตถุต่าง ๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม"

สิ่งที่นิยาม "ความแข็งแกร่ง" ของฟิล์มกันรอยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้ 

(1) ความหนา (thickness) โดยมากฟิล์มกันรอยจะหนาอยู่ระหว่าง 0.1 - 0.44 mm. (แล้วแต่วัสดุที่ใช้) ซึ่งไม่ใช่ว่าหนา ๆ แล้วจะดีกว่า ในบางกรณี ฟิล์มบาง ๆ ทนต่อแรงกระแทกได้มากกว่า เพราะ ความตึงเครียด 

(2) ความเหนียวยืดหยุ่น (elasticity) ทำให้ฟิล์มกันรอยดูดซับแรงกระแทกดี ดังวลีไทยใช้ในการอธิบายความแข็งแกร่งว่า หนังเหนียว (ตรงกันข้าม ไม่ค่อยได้ยิน หนังหนา ในเชิงบวกแฮะ)

โดยรายงานจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโตเกียว ค้นพบว่า

"กระจกที่บางและยืดหยุ่น เป็นกระจกที่เหมาะสมสำหรับหน้าต่างในตึก รถ และ เป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตหน้าจอ และ ฟิล์มสำหรับสมาร์ทโฟน”           

(อ่านเพิ่มเติมใน : https://www.rdmag.com/article/2015/11/making-glass-stronger-steel)

 

(3) โครงสร้างเชิงกายภาพ (physical structure) คือ การทำให้ฟิล์มแข็งแกร่งขึ้น ด้วยโครงสร้างรูปทรง เช่น หากฟิล์มกระจกโค้งไม่พอดีกับมือถือ ก็อาจทำให้มันแตกง่ายกว่าปกติ

หรือ ล่าสุด มีการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความแกร่งให้กระจก โดยเลียนแบบมาจาก โครงสร้างเปลือกหอยทาก 

ปัจจุบันมีการประยุกต์วิธีสร้างรอยแตกร้าวขนาดไมโคร (microscopic cracks) จาก หอยทาก เพื่อสร้างสมดุลให้กระจกทั้งแผ่นไม่เสียหาย 
(อ้างอิง : https://gizmodo.com/to-make-glass-stronger-etch-it-with-microscopic-cracks-1510973860)


ข้อเสนอที่ 2 สินค้าหลากหลาย (Product Variety) 

เนื่องจากการใช้งานสมาร์ทโฟนที่หลากหลาย กอริลล่าจึงได้พยายามออกแบบสินค้าให้ตอบสนองทุกรูปแบบการใช้งาน

ความหลากหลายของสินค้าจากกอริลล่านี้ มีทั้งในเรื่องของ ประโยชน์ใช้งานวัสดุ ซึ่งมีข้อเด่นข้อด้อยไม่เหมือนกัน เช่น

ฟิล์มกันมอง (Privacy films) ฟิล์มดาร์กๆ สำหรับผู้ที่มีความลับเยอะ

กอริลลายูวี (Gorilla UV) สำหรับนักสู้กับมือถือจอโค้งทั้งหลาย ตั้งแต่โค้งเล็กน้อย ไปจนถึง โค้งชันกว่า ภูเขาไถ่หาง มณฑลเหอหนาน

บางท่านอาจต้องการใส่ฟิล์มคู่กับเคสหนาๆ แต่กลัวเคสดันฟิล์ม อาจสนใจฟิล์มนิสัยดีอย่าง ฟิล์มอ้อมหลัง (TPU Wider) ซึ่งถือว่าเป็นฟิล์มประเภท “เป็นเพื่อนกับทุกเคส” (universal case friendly)

จึงเป็นสาเหตุที่ Gorilla ไม่ได้ยึดติดอยู่กับวัสดุ หรือ รูปทรงแบบใดแบบหนึ่ง


ข้อเสนอที่ 3 - นวัตกรรม (Innovation)

นวัตกรรมไม่ได้แค่มีความหมายแคบๆ แค่ในเชิงการผลิต หากแต่ยังหมายถึง การพยายามสร้างหรือหาสิ่งใหม่ๆ มาให้ลูกค้า และ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ทำให้ได้สินค้าที่สอดคล้องกับ ข้อเสนอ 2 ข้อข้างต้น)

โดยความหลากหลายของสินค้า มาพร้อมนวัตกรรมล่าสุดทั้งการประยุกต์ใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น การใช้วัสดุใหม่ๆ มาเสริมความแข็งแกร่ง อย่างวัสดุ PE Resin (ซึ่งเป็นวัสดุใหม่ในการผลิตฟิล์ม) ที่มีความยืดหยุ่นเป็นอย่างมาก ช่วยเสริมความแข็งแกร่ง

 

...พักหายใจ...

ข้อเสนอนี้ แสดงให้เห็นว่า กอริลล่า ใส่ใจ ในการสรรหาสินค้าที่มาตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ทุกรูปแบบให้มากที่สุด ซึ่งเป็นไปได้ด้วย การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

 


ข้อเสนอที่ 4 - ประกัน 180 วัน

ด้วยความที่ การใช้งานสมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวัน ถือว่ามีความเสี่ยงในการทำฟิล์มกระจกแตกสูง นอกจากต้องรักษามือถือ ยังจะต้องมารักษาฟิล์มอีก (ซับซ้อนจัง) 

ฟิล์มกระจกที่แตกไปแล้วกู้คืนไม่ได้ แต่เปลี่ยนอันใหม่ได้ ข้อเสนอนี้จึงมีไว้ช่วยชดเชย ความรู้สึกของลูกค้านั่นเอง

เพราะ Gorilla ต้องการให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าเรา ในแบบที่จับต้องได้ เป็นรูปธรรมมากกว่า

โดยกอริลล่าให้สิทธิ์ลูกค้าที่ทำกระจกแตกโดยไม่ได้ตั้งใจ ได้โอกาส เปลี่ยนฟรี 1 ชิ้น สินค้าเหมือนเดิมเด๊ะ (เป็นทางการหน่อยโว้ยย)

ตอบสนองการใช้งานไหม?

คิดง่าย ๆ ก็เหมือนได้ฟิล์มฟรีอันนึงนะครับ


สรุปกล่าวคือ ทำไมต้องใช้ฟิล์ม เพราะ การใช้มือถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต  และ ฟิล์มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้มือถือ ที่สมบูรณ์แบบฟิล์มกันรอย จึงเป็นเหมือนเรื่อง ไกลตัวที่ใกล้ตัว 

เราจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนเลือกซื้อ ด้วยฟิล์มในท้องตลาด มี หลากรูปแบบ และ หลายเกรด